โพสต์แนะนำ

คู่มือเดินป่า..ตอนที 1 "เตรียมตัวก่อนเข้าป่า"

คู่มือเดินป่า..ตอนที 1 ทำไมต้องเดินป่า การเดินในป่า เป็นการชาร์จแบตให้กับตนเอง มีงานวิจัยและบันทึกหลายฉบับพบว่า ธรรมชาติสีเขียวช่วยผ...

อันตรายจากการขึ้นภูเขาสูง

อันตรายจากการขึ้นภูเขาสูง



บนภูเขาสูงมีอากาศเบาบาง จึงมีออกซิเจนน้อยตามไปด้วย คนที่ขึ้นภูเขาสูง เวลาหายใจจะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง เมื่ออวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะทำให้ป่วยง่าย

อาการที่เริ่มแสดงว่า ร่างกายเริ่มได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะเหมือนกับอาการเวลาออกกำลังกายเหนื่อยๆ คือ หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว

ที่ระดับน้ำทะเล ระดับออกซิเจนในเลือดของคนปกติ ขณะหยุดพัก ถ้าวัดด้วยเครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือดคือ pulse oximeter จะแสดงค่า 99% เพราะหน้าจอแสดงตัวเลขได้แค่ 2 หลัก แต่ถ้าออกกำลังกาย ระดับออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง แต่ไม่เกิน 5% คืออยู่ระหว่าง 95-99% ซึ่งระดับออกซิเจนที่สูงกว่า 95% ยังถือว่าเป็นระดับปกติ

แต่เมื่อขึ้นภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 1500 เมตร ภายในวันเดียว คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย จะมีระดับออกซิเจนในเลือดขณะหยุดพัก ลดลงเหลือเพียง 90-95% จะเริ่มซึม อยากนั่ง ไม่มีแรงยืนหรือเดินไปไหน หน้าซีดมือซีด สักพักก็จะเริ่มปวดหัวตึ๊บๆ เนื่องจากมีออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ ความคิดไม่ค่อยละเอียดเหมือนก่อนขึ้นเขา นั่นคืออาการเริ่มแรกของโรคแพ้ความสูง หรือ altitude sickness มีอาการหลักคือ ปวดหัว และเจ็บหน้าอกเวลาออกแรง บางคนเรียก mountain sickness

ถ้ายังฝืนขึ้นภูเขาสูงไปอีก ระดับออกซิเจนในเลือด จะยิ่งลดต่ำลงเรื่อยๆ ถ้าขึ้นถึงระดับ 2500 เมตร คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย จะมีระดับออกซิเจนในเลือดขณะหยุดพัก เหลือเพียง 80-90% ซึ่งระดับนี้ถือว่าเริ่มอันตรายแล้ว เพราะอวัยวะต่างๆในร่างกายจะเริ่มถูกทำลาย บางคนอาจมีระดับออกซิเจนขณะหยุดพักเหลือเพียง 70-80% ซึ่งเป็นระดับที่ทำลายอวัยวะในร่างกายอย่างรุนแรง อาการป่วยจะเริ่มปรากฎชัดคือ คลื่นใส้อาเจียน นอนไม่หลับ ท้องร่วงหรือท้องผูก ไอแห้งๆ ถ้าปลายนิ้วหรือตาขาวเปลี่ยนเป็นสีม่วง นั่นคืออันตรายแล้ว แต่เนื่องจากโรค altitude sickness จะเกิดขึ้นช้าๆ และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คนส่วนใหญ่จึงมักจะป่วยบนเขาในตอนกลางคืน ซึ่งการเดินทางลงเขาทำได้ยาก ดังนั้น ถ้าขึ้นเขาแล้ว เริ่มรู้สึกไม่สบาย ไม่ว่าจะเป็นโรค altitude sickness หรือโรคอะไรก็ตาม ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ รีบลงจากเขาก่อนค่ำ

ส่วนคนที่ขึ้นลงเขาบ่อยๆ หรือออกกำลังกายเป็นประจำ ร่างกายจะปรับตัวได้เร็วกว่าคนทั่วไปที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ถึงแม้ว่าจะขึ้นภูเขาสูงถึงระดับ 2500 เมตร ภายในวันเดียว ก็ยังวิ่งเล่นได้อยู่ เพราะ จะยังคงมีระดับออกซิเจนในเลือด ขณะหยุดพัก สูงกว่า 95% แต่การออกกำลังกายบนที่สูง เช่น เดินขึ้นเขา อาจทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลงเหลือเพียง 90-95% ซึ่งทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน

เมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง ร่างกายจะมีกระบวนการปรับตัว ด้วยการพยายามสร้างเม็ดเลือดแดงกับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น เมื่อมีฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้น ก็จะมีตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้มากขึ้น แต่กระบวนการปรับตัวนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 1-3 วัน หลังจากร่างกายปรับตัวได้แล้ว ระดับออกซิเจนในเลือด บนเขาขณะหยุดพักจะกลับมาเป็นปกติ เท่ากับที่ตอนอยู่ที่ระดับน้ำทะเล คือสูงกว่า 95%

วิธีที่ดีที่สุดในการปรับตัวเข้ากับความสูงคือ ลงมาพักที่ต่ำลงมา ตามหลักของคนปีนเขาว่า "climb high, sleep low" ความสูงที่เริ่มปลอดภัยคือ ต่ำกว่า 1500 เมตร ยิ่งลงมาต่ำเท่าไหร่ อาการป่วยก็จะยิ่งหายเร็วขึ้น ถ้าลงมาอยู่ตีนเขาแถวพื้นราบ อาการป่วยจะหายไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ถ้าขึ้นเขาครั้งแรกแล้วป่วย พอลงมาพักแถวตีนเขาจนหายป่วย แล้วกลับขึ้นเขาไปใหม่ ก็มักจะไม่ป่วยเหมือนเดิมแล้ว คนที่ขึ้นภูเขาสูง จึงใช้วิธีนี้ค่อยๆไต่ความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

เวลาป่วยอยู่บนเขา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ป่วยเป็นโรค altitude sickness แต่ถ้าติดเชื้อเพราะโดนแมลงกัดหรือเป็นหวัด จะทำให้ร่างกายยิ่งต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น จะยิ่งทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลงไปอีก ถ้าฝืนอยู่บนเขา จะยิ่งทำให้อาการป่วยทรุดลง
.
งานวิจัยพบว่า เวลาขึ้นเขาสูง ร่างกายจะสร้างสารพิษที่เรียกว่า อนุมูลอิสระ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุให้เกิดโรค altitude sickness การกินสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อย่างเช่น วิตามินซี (วันละ 500 มก.), กลูต้าไธโอน (อมใต้ลิ้น) ฯลฯ จะช่วยลดโอกาสเกิด altitude sickness ได้ โดยร่างกายจะใช้วิตามินซี ไปช่วยสร้างกลูต้าไธโอน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวหลักในร่างกาย
.
นอกจากนี้ ควรกินโปรตีนจากสัตว์ให้เพียงพออยู่เสมอ เพราะร่างกายสามารถใช้โปรตีนไปสร้างสารต้านพิษหลายตัว อย่างเช่น กลูต้าไธโอน, ไนตริกออกไซด์, กรดยูริก ฯลฯ แต่แพทย์แผนปัจจุบันไม่รู้วิธีรักษาด้วยสารธรรมชาติแบบนี้ เพราะพวกเขาถูกทุนนิยมเข้าครอบงำ จึงรู้จักแต่การใช้ยากดอาการที่ปลายเหตุ อย่างเช่น สเตรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่เราควรหลีกเลี่ยง เพราะมันไม่ใช่ยารักษาโรค มันเพียงแค่หลอกร่างกายไว้ชั่วคราว ไม่ให้แสดงอาการป่วยออกมาแค่นั้นเอง พอหมดฤทธิ์ยาแล้ว อาการป่วยจะหนักกว่าเดิม
.
เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์


อ่านต่อบทความคู่มือเดินป่า...ตอนที่ 13>>>>>>>>

คู่มือเดินป่าตอนที่1...https://is.gd/SgkF3
.
คู่มือเดินป่าตอนที่2...https://is.gd/P5Rw0
.
คู่มือเดินป่าตอนที่3...https://is.gd/lANrL
.
คู่มือเดินป่าตอนที่4...https://is.gd/FBvf5
.
คู่มือเดินป่าตอนที่5...https://goo.gl/5ACh2f
.
คู่มือเดินป่าตอนที่6...https://goo.gl/vx1qtc

คุณสามารถติดตามพูดคุยกับเราได้ที่>>>  เพจ"เอาตัวรอดในป่า"


By :อยู่อย่างเสือ 


.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น