โพสต์แนะนำ

คู่มือเดินป่า..ตอนที 1 "เตรียมตัวก่อนเข้าป่า"

คู่มือเดินป่า..ตอนที 1 ทำไมต้องเดินป่า การเดินในป่า เป็นการชาร์จแบตให้กับตนเอง มีงานวิจัยและบันทึกหลายฉบับพบว่า ธรรมชาติสีเขียวช่วยผ...

คู่มือเดินป่า..ตอนที่ 4 "กฎของการดื่มน้ำในป่า"

กฎของการดื่มน้ำในป่า...

คนขาดน้ำเนื่องจากอ่อนประสบการณ์ เนื่องจากประเมินเวลาเดินต่ำกว่าระยะทางจริง หรือ แบกน้ำมาตลอดทางแล้ว พอใกล้ขึ้นถึงยอดเขา หรือรู้ว่าใกล้จะถึงจุดหมาย เริ่มรู้สึกล้า จึงเลิกสะสมน้ำ แต่ผมเคยเห็นคนที่มีประสบการณ์สูงก็ยังพลาด เพราะความประมาท เช่น ไม่ค่อยเผื่อ ปรากฎว่าเดินไปแล้ว น้ำหมดกลางทาง ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจว่าจะแบกน้ำไปดีหรือไม่ ควรจะแบกไปก่อนถ้าไม่ได้ใช้ก็ไม่เสียหาย จะไปทิ้งภายหลังก็ได้  

     การเดินป่าใกล้ๆพื้นราบ ที่แล้งๆ อากาศร้อนๆ ร่างกายต้องการน้ำประมาณ ชั่วโมงละครึ่งลิตร พอกินน้ำไปสักพักจะต้องการน้ำน้อยลง การแบกน้ำวันละ 3 ลิตร มักจะเพียงสำหรับการเดินป่าตลอดทั้งวัน และยังมีเหลือค้างคืนได้อีกเล็กน้อย บนเขาที่อากาศเย็นๆชื้นๆ ทำให้เหงื่อออกน้อย จะดื่มน้ำน้อยลง  ในกรณีที่ไม่เคยชินกับการแบกน้ำหนักมากๆ น้ำอาจจะถ่วงให้เดินช้า ถ้าไม่อยากแบกหนัก  ควรรู้ว่าเวลาไหนควรตุนน้ำเท่าไหร่ โดยถามคนนำทาง 

     ถ้าเดินใกล้ลำธารที่น้ำสะอาดมาก สามารถแบกไปแค่ไม่ให้รู้สึกว่าหนัก แต่ถ้าต้องขึ้นเขาที่ไม่แน่ใจว่า จะมีน้ำไหลตลอดปี ควรจะแบกน้ำไปให้มากที่สุด อย่าไปหวังแหล่งน้ำบนยอดเขา เพราะ แหล่งน้ำบนยอดเขาที่เคยมีน้ำตลอดปี ปีนั้นอาจไม่มีน้ำก็ได้ เพราะฝนตกแต่ละปีไม่เท่ากัน บางปีฝนตกน้อย บางปีฝนตกมาก แม้แต่คนที่ชำนาญทาง ก็อาจพลาดได้ 

     ปกติแหล่งน้ำสุดท้ายก่อนขึ้นเขา มักจะใกล้ยอดเขาแล้ว เดินอีกไม่กี่ชั่วโมงก็ถึงยอด ดังนั้น เมื่อถึง แหล่งน้ำสุดท้ายก่อนขึ้นเขา ควรตุนน้ำไปให้มากที่สุด เพราะว่าอยู่บนเขาแล้วหาน้ำยาก อย่ากลัวหนัก การแบกน้ำขึ้นเขาเพิ่มขึ้นอีก 3-6 กิโลกรัม ไม่ได้หนักขึ้นเท่าไหร่ พอได้ใช้แล้วคุ้มค่ากว่าการแบกมา ถ้าปลายทางมีน้ำ ให้ถือว่าโชคดี แต่ถ้าน้ำไม่พอ จะต้องอดน้ำหรือต้องลงเขาไปหาน้ำ แล้วต้องกลับขึ้นมาอีกรอบ นอกจากจะเหนื่อยแล้ว ยังเสียเวลาด้วย มีตัวอย่างที่ผมเคยเดินขึ้นไปนอนที่ผาเหยียบเมฆ จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงฤดูร้อน ลุงคนนำทางซึ่งเป็นผู้ชำนาญพื้นที่ ยืนยันว่าบนผาเหยียบเมฆมีน้ำตลอดปี จึงไม่มีใครตุนน้ำขึ้นไป แต่พอขึ้นไปถึง ปรากฎว่าปีนั้นน้ำแห้ง ต้องลงเขาไปไกลถึง 1 ชั่วโมง ก็ยังเจอแค่น้ำซึมจากก้อนหิน จึงใช้เวลานานกว่าจะรองน้ำเต็ม ในขณะที่เวลานั้นดึกมากแล้ว และทุกคนยังไม่ได้กินข้าว จึงต้องรีบกลับขึ้นมาหุงข้าว ทำให้ได้น้ำมาน้อย พอวันรุ่งขึ้นเดินไปแล้ว น้ำหมดกลางทาง ต้องอาศัยดื่มน้ำขังที่สกปรกบนยอดเขา แล้วรีบดิ่งลงเขาไปหาแหล่งน้ำ

กฎของการดื่มน้ำในป่า คือ........
ดูสินค้าของเราคลิก..>>>

ดื่มน้ำไหลเท่านั้น อย่าดื่มน้ำนิ่ง ถึงแม้ว่าจะต้มแล้วก็ตาม น้ำต้มฆ่าเชื้อโรคได้ แต่ไม่ได้ฆ่าพิษจากเชื้อโรค น้ำที่อันตราย คือ  น้ำขัง หรือน้ำที่หยดมาจากแหล่งน้ำขัง จะมีแบคทีเรียที่มีพิษสะสมอยู่ เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae)  คือแบคทีเรียชื่อ cyanobacteria อาจมีขนาดเล็กถึง 0.5 ไมครอน (1 ไมครอน เท่ากับ 1 ใน 1000 มิลลิเมตร) จึงมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอนจึงจะเห็น



     ยกเว้นจะอยู่รวมกัน จะเห็นน้ำมีสีเขียวๆ หรือมีคราบบนผิวน้ำ เช่น ในนาข้าวที่มีน้ำขัง ถ้าอาบน้ำพวกนี้ จะเป็นผื่น ถ้ากินเข้าไปมากๆ จะเวียนหัว อาเจียน เนื่องจาก สาหร่ายมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อตับ และระบบประสาท ทำให้ตับอักเสบ ยิ่งนำมาต้ม ยิ่งอันตรายขึ้นไปอีก

   เนื่องจากสาหร่ายจะแตกตัว ปล่อยสารพิษออกมา วิธีที่ปลอดภัยคือ กินน้ำที่ไหลเวียนตลอดเวลา น้ำมีความขุ่นสูงจะปลอดภัยกว่า เนื่องจาก สาหร่ายจะเติบโตได้เฉพาะ บนผิวน้ำนิ่งที่ได้รับแสงแดดนาน 2-3 วัน น้ำขุ่นไม่มีแสงแดดทะลุลงไป ให้สาหร่ายสังเคราะห์แสง

     ด้วยเหตุนี้ ถ้าต้องเข้าป่าช่วงหน้าแล้ง ควรจะไปเฉพาะสถานที่ๆมีน้ำไหลในปริมาณมาก ถ้าต้องดื่มน้ำขัง เช่น น้ำในอ่างเก็บน้ำ ควรพกเครื่องกรองน้ำที่กรองได้ละเอียดกว่า 0.5 ไมครอน หรือทำที่กรองขึ้นมาเอง โดยใช้ทรายในลำห้วยจะกรองได้เกือบเกลี้ยง หรือใช้ถ่านจากกองฟืนรองข้างล่างอีกชั้นจะกรองได้หมด เพราะถ่านคือ activated carbon จะกรองได้ละเอียดถึง 0.5 ไมครอน หรือ ขุดดินห่างจากแหล่งน้ำสัก 1-2 ศอก เพื่ออาศัยดินช่วยกรอง

น้ำที่ไหลแรง ถึงแม้ว่าจะมีตะไคร่น้ำปนเปื้อน แต่ก็ถือว่าเจือจางมาก ไม่เหมือนน้ำนิ่ง ซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงที่เป็นพาหะของโรคต่างๆ น้ำไหลในพื้นที่เป็นเหมืองแร่่ อาจมีเศษแร่ปนมาตามลำธาร เช่น บ้านคลิตี้ ในเขตทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งชาวบ้านป่วย ตรวจพบว่ามีปริมาณสารตะกั่วในเลือดสูง  แม้แต่เหมืองแร่เก่า ก็ยังมีตะกอนตกค้างอยู่ตามลำห้วยเป็นระยะทางยาวหลายสิบกิโลเมตร เหมืองบางแห่งแอบปล่อยเศษแร่ลงสู่ผืนป่า

เชื้อโรคจากมูลสัตว์ พยาธิตัวอ่อนจากมูลสัตว์ และ ปลิง จะอยู่ตามน้ำนิ่ง และน้ำไหลเอื่อย แต่บริเวณน้ำไหลแรงก็อาจไหลปนมา  เคยมีคนดื่มน้ำไหลแรงแต่ขุ่นๆในลำธารโดยไม่ฆ่าเชื้อโรคก่อน ปรากฎว่าท้องร่วงเพราะเชื้อโรคจากมูลสัตว์ที่ปนมาในน้ำ พอท้องร่วงมากๆก็จะเพลีย เชื้อโรคบางชนิดทำให้ถึงตายได้ พยาธิหลายชนิดมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สามารถว่ายน้ำได้ เมื่อกินเข้าไปก็จะไปแพร่พันธุ์อยู่ในร่างกาย พยาธิปากขอหรือพยาธิเส้นด้าย เมื่อสัมผัสกับผิวหนังเวลาอาบน้ำ หรือสัมผัสกับมูลสัตว์ รวมไปถึงในดิน หรือแม้แต่ติดมากับทาก ก็สามารถชอนไชผ่านผิวหนังเข้าไปได้

       เมื่อพยาธิไชไปตามผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังมีตุ่มแดง และเป็นเส้นสีแดงนูนและคดเคี้ยว เมื่อพยาธิไชเข้าไปยังอวัยวะส่วนใด ก็จะทำให้อวัยวะส่วนนั้นผิดปกติ ถ้าไชทะลุผิวหนังเข้าไปถึงเส้นเลือด ก็จะไหลไปยังหัวใจ ปอด ถูกขับออกมาทางหลอดลม แล้วถูกกลืนลงไปเกาะอยู่ที่ผนังลำใส้ แล้วแพร่พันธุ์อยู่ในนั้น พยาธิบางชนิดจะตายไปเองภายใน 1 เดือน - 2 ปี เช่น พยาธิปากขอ ส่วนปลิงจะอาศัยอยู่ในน้ำตื้น อาจเป็นน้ำนิ่ง หรือ น้ำที่ไหลเอื่อยๆ แม้แต่ตามพงหญ้าในน้ำ หรือตามโคลนก็อาจจะเจอ แม้แต่คนที่เล่นน้ำ ก็เคยโดนปลิงเข้าไปอยู่ใน ทวารหนัก ช่องคลอด ตา จมูก มาแล้ว เคยมีคนดื่มน้ำในลำธาร แล้วผ่านไปไม่กี่เดือนป่วย ตรวจเจอปลิงเกาะอยู่ใน กล่องเสียง หรือ หลอดลม ปลิงบางสายพันธุ์ตัวโตเต็มที่ไม่เกิน 0.5 ซม. มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น จนกว่าจะเข้าไปขยายพันธุ์อยู่ในร่างกาย แล้วอ้วกออกมาเป็นกระจุก

      เหล่านี้คือเหตุผลที่ควรใช้น้ำไหลแรงเท่านั้น หลีกเลี่ยงน้ำนิ่งหรือน้ำที่ไหลเอื่อยๆ และควรกรองน้ำก่อนดื่มทุกครั้ง เมื่อรู้ว่ามีพยาธิหรือปลิงอยู่ในตัว ควบรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง เช่น ที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

น้ำในลำธาร เป็นน้ำที่ดีต่อสุขภาพ เพราะเป็นน้ำแร่ มีแร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้คนแข็งแรง แถมยังเป็นน้ำที่สะอาดกว่าน้ำประปาตามบ้าน เพราะมาจากต้นน้ำ และผ่านการกลั่นกรองมาจากดินแล้ว แต่อาจมีสิ่งสกปรกตามธรรมชาติปะปนมา ก่อนนำมาดื่ม จึงต้องรู้วิธีทำน้ำให้สะอาด


>>>ตอนต่อไป...วิธีทำน้ำให้สะอาด <<<


เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์

อ่านต่อบทความคู่มือเดินป่า...ตอนที่ 5>>>>>>>>

คู่มือเดินป่าตอนที่1...https://is.gd/SgkF3
.
คู่มือเดินป่าตอนที่2...https://is.gd/P5Rw0
.
คู่มือเดินป่าตอนที่3...https://is.gd/lANrL
.
คู่มือเดินป่าตอนที่4...https://is.gd/FBvf5
.
คู่มือเดินป่าตอนที่5...https://goo.gl/5ACh2f
.
คู่มือเดินป่าตอนที่6...https://goo.gl/vx1qtc

ดูสินค้าของเรา....คลิก

คุณสามารถติดตามพูดคุยกับเราได้ที่>>>  เพจ"เอาตัวรอดในป่า"


By :อยู่อย่างเสือ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น