โพสต์แนะนำ

คู่มือเดินป่า..ตอนที 1 "เตรียมตัวก่อนเข้าป่า"

คู่มือเดินป่า..ตอนที 1 ทำไมต้องเดินป่า การเดินในป่า เป็นการชาร์จแบตให้กับตนเอง มีงานวิจัยและบันทึกหลายฉบับพบว่า ธรรมชาติสีเขียวช่วยผ...

คู่มือเดินป่า..ตอนที่ 2 "ป่าที่ควรหลีกเลี่ยง"

คู่มือเดินป่า..ตอนที 2 "ป่าที่ควรหลีกเลี่ยง"

ป่าที่ควรหลีกเลี่ยง

ป่าที่ห่างไกลความเจริญ อย่างแถบชายแดน มีอันตรายมาก ป่าแถบชายแดนฝั่งตะวันตกติดกับพม่า มีระเบิดที่ทหารกะเหรี่ยงฝังไว้ตามแนวเขตแดน เพื่อป้องกันผู้รุกล้ำ เคยมีชาวบ้านจาก อำเภอพบพระ ฝั่งไทย เข้าไปหาของป่า แล้วเหยียบกับระเบิด เคยมีช้างเข้าไปชักลากไม้ที่อำเภอท่าสองยาง แล้วเหยียบกับระเบิด จนเท้าข้างนั้นเละ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในเขตไทย ก็ยังไม่ปลอดภัย ป่าชายแดนฝั่งตะวันออกติดกับเขมร เช่น แถบอำเภอโป่งน้ำร้อน หรือ เขาพระวิหาร เคยมีทหารไทยเหยียบกับระเบิด ที่ทหารเขมรฝังไว้ในในฝั่งไทย เคยมีพวกเขมรลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณเทือกเขาพนมดงรักฝั่งไทย ยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่ไทยที่เข้าจับกุม พวกลักลอบตัดไม้มีอาวุธครบมือ กล้าที่จะยิ่งทุกคนที่ไม่รู้จักเพื่อปิดปาก ป่ารอยต่อเคย

เรื่องเด็ดห้ามพลาด ...... คู่มือเดินป่า..ตอนที่ 3

มีกองกำลังติดอาวุธจากฝั่งพม่า หลงเข้ามาจนถึงหมู่บ้านในฝั่งไทย เคยมีคนไทยไปหาของป่าบนเทือกเขาพนมดงรัก ตามแนวชายแดนไทยลาว แต่ถูกทหารลาวจับตัวในฝั่งไทย แล้วนำตัวเข้าไปในลาวเพื่อเรียกค่าไถ่ 

นอกจากนี้ยังมีไร่ฝิ่น ไร่กัญชา ถ้ารุกล้ำเข้าไปอาจโดนเจ้าของไร่ยิงได้ และยังมีเส้นทางลำเลียงยาเสพติด แม้แต่หมู่บ้านใกล้ๆชายแดนอย่างเช่น ที่ตำบลตาพระยา ก็มีกลุ่มโจรเขมร มาปล้นหรือจับชาวบ้านเป็นตัวประกันอยู่เป็นระยะ


ส่วนป่าในประเทศเพื่อนบ้าน ยิ่งอันตรายจนไม่ต้องพูดถึง เคยมีชาวบ้านหาของป่า พลัดหลงไปในลาวหรือกัมพูชา แล้วถูกจับกุมข้อหาเป็นสายลับ ในเขมรมีกับระเบิดที่ฝังไว้สมัยเขมรแดง ในประเทศลาวบริเวณใกล้ชายแดนเวียดนาม ก็เต็มไปด้วยซากระเบิด bombies ที่ถูกอเมริกาทิ้งไว้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียตนาม กระจายอยู่ทุกที่ ใน 14 แขวงของลาว ทั้งในป่า ลำธาร และทุ่งนา ถึงแม้ว่าจะผ่านมาหลายสิบปี แต่ก็ยังมีระเบิดเหลือทิ้งไว้เกือบล้านลูก คนลาวเป็นเหยื่อกับระเบิดเกือบทุกวัน เคยมีเด็กลาวนั่งผิงไฟอยู่ในบริเวณบ้าน โดยไม่รู้ว่ามีระเบิดซ่อนอยู่ใต้ดิน เมื่อระเบิดได้รับความร้อนจึงระเบิดขึ้น ทำให้เสียชีวิตกันหมด 



เรื่องเด็ดห้ามพลาด ...... คู่มือเดินป่า..ตอนที่ 3

ตามแถบชายแดนยังมีโรคประหลาด เช่น มาลาเรีย โรคเท้าช้าง ฯลฯ เนื่องจากคนในพื้นที่อยู่ไกลแพทย์ เมื่อเป็นโรคแล้วจึงไม่ได้รักษา ทำให้พื้นที่นั้นเป็นแหล่งระบาดของโรค  โรคเหล่านี้มียุงในป่าเป็นพาหะ ยุงป่าหากินทั้งกลางวันและกลางคืน ไข้มาลาเรีย ถ้ารักษาทัน กินยาครบ อาจหายขาด แล้วมีภูมิคุ้มกัน แต่โรคอื่นๆ เช่นโรคเท้าช้าง เกิดจากยุงลายที่มีชุกชุมในป่าไผ่ ป่าพรุ รักษาไม่หายขาด ถ้าจำเป็นต้องเข้าป่าแถบชายแดน อย่าไปช่วงที่ยุงชุกชุมเช่นในหน้าฝน ควรไปในช่วงที่ยุงน้อย เช่น หน้าหนาว ถ้าเข้าป่าที่มีเชื้อมาลาเรีย ไม่ควรเข้าไปเกิน 1 สัปดาห์ เพราะว่าเชื้อมาลาเรียจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1-3 สัปดาห์ ถ้าเป็นไข้มาลาเรียกลางป่า จะอ่อนเพลียลงเรื่อยๆ จนแทบจะไม่มีแรงเดิน ถ้าต้องเข้าป่าที่มีมาลาเรียนานๆ จำเป็นต้องรู้จักมาลาเรียและพกยาเข้าไปด้วย ป่าที่จัดว่าปลอดภัย คือป่าที่มีถนนและเมืองล้อมรอบ 

ควรหลีกเลี่ยงป่าใกล้พื้นราบที่มีอากาศร้อน เพราะเวลาเดินป่าจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าปกปิดให้มิดชิด เพื่อป้องกันหนาม,แมลง,เห็บ ตามปกติในป่าทึบจะไม่มีลม ถ้าใส่เสื้อผ้าปกคลุมในป่าที่อากาศร้อนอบอ้าว อาจร้อนจนไม่สบายหรือเสียเหงื่อมาก ถึงแม้ว่าพอขึ้นเขาสูงไปแล้ว จะอากาศเย็นลง แต่น้ำในลำธารในฤดูแล้ง มักจะไม่ต่อเนื่อง บางแห่งแถวพื้นราบมีน้ำไหล แต่บนเขาน้ำแห้ง บางแห่งแถวพื้นราบน้ำแห้ง แต่บนเขามีน้ำ บางทีน้ำที่มีอยู่ก็เป็นน้ำขัง อาบแล้วคัน  หาความแน่นอนไม่ได้ 

      ยกเว้นป่าแถวภาคใต้ ที่ลำธารมีน้ำไหลตลอดปี ในฤดูร้อนและต้นฤดูฝนยังมีผึ้ง และแมลงวันมาก ผึ้งจะมาตอมเสื้อ ตอมตัว เพื่อกินเหงื่อ สร้างความรำคาญพอสมควร ผึ้งบางตัวจะมุดเข้าไปในเสื้อ พอเรารู้สึกคัน มือไปโดนตัวมัน ก็จะโดนมันต่อย ถ้าต้องไปในป่าแถวพื้นราบที่มีอากาศร้อน ควรไปในช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาว 


จากที่ผมเดินทางมา ป่าที่ประทับใจที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพราะว่ามีถนนผ่ากลางป่า ไม่ต้องลำบากเดินจากตีนเขาขึ้นไป หากมีปัญหาอะไร สามารถออกจากป่าถึงถนนได้ง่าย ถนนราดยางมีรถวิ่งผ่านป่าไปมา ถึงแม้โทรศัพท์จะไม่มีคลื่น ก็โบกรถกลับได้ และ มีถนนล้อมรอบป่า คือเป็นเมืองล้อมป่า ทำให้ไม่มีอันตราย หรือโรคร้าย และ มีความหลากหลายทางธรรมชาติ ตั้งแต่พื้นราบขึ้นไปถึงต้นไม้ใส่เสื้อบนยอดเขาที่รถขึ้นถึงได้ ถึงแม้ว่า ป่าบางแห่งจะมีถนนผ่าป่า อย่างเช่น น้ำหนาว หรือ ดอยอินทนนท์ แต่ไม่มีความหลากหลายทางธรรมชาติและสัตว์ป่าเหมือนเขาใหญ่ ส่วนป่าที่โหดร้ายที่สุด ต้องยกให้ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพราะเป็นภูเขาสูง ลำห้วยลึก ขึ้นลงแต่ละครั้งเหนื่อยมาก และยังมีอันตรายครบทุกอย่าง ตั้งแต่ เห็บ ยุงมาลาเรีย หมาใน จรเข้ เสือ ถ้าไปแถบภูเขาสูงใกล้ชายแดนก็จะมี คุ่น และ ทากตอง......


>>>ตอนต่อไป...เตรียมอุปกรณ์เดินป่า<<<


เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์

อ่านต่อบทความคู่มือเดินป่า...ตอนที่ 3>>>>>>>>

คู่มือเดินป่าตอนที่1...https://is.gd/SgkF3
.
คู่มือเดินป่าตอนที่2...https://is.gd/P5Rw0
.
คู่มือเดินป่าตอนที่3...https://is.gd/lANrL
.
คู่มือเดินป่าตอนที่4...https://is.gd/FBvf5
.
คู่มือเดินป่าตอนที่5...https://goo.gl/5ACh2f
.
คู่มือเดินป่าตอนที่6...https://goo.gl/vx1qtc
คุณสามารถติดตามพูดคุยกับเราได้ที่>>>  เพจ"เอาตัวรอดในป่า"


By :อยู่อย่างเสือ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น